ประสบการณ์ : คุณเอกรักษ์  ถิรพิเชฐวงศ์  (เยาวชนกรุงเทพฯ) 

 คุณสมบัติ : โฮจ้าชู 

       สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกเรยูไก กระผมนายเอกรักษ์ ถิรพิเชฐวงศ์(แมน) ผมรู้สึกขอบคุณเเละเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาเล่าประสบการณ์ของกระผมเองครับ ก่อนอื่นผมเป็นคนนับถือศาสนาพุทธ(เถรวาท) ไม่เคยรู้จักว่ามูลนิธิเรยูไกคืออะไร มารู้จักได้เพราะแฟนผม(มิสึโยะ) เป็นผู้แนะนำคำสอนเรยูไก และสมัครเข้าเป็นสมาชิก  ส่วนตัวผมเป็นคนที่ชอบทำบุญอยู่แล้วตอนแรกที่แฟนแนะนำเกี่ยวกับเรยูไก ว่าเป็นศาสนาพุทธ ผมก็ได้ศึกษาข้อมูลจากใบแนะนำว่าเรยูไกมีประวัติความเป็นมาอย่างไร การปฏิบัติเป็นแบบไหน เมื่อศึกษาแล้วทราบว่าเน้นไปทางเคารพกราบไหว้บรรพบุรุษของเรา ถ้าไม่มีบรรพบุรุษก็ไม่มีเราทุกวันนี้ วิธีการกราบไหว้บรรพบุรุษเราจะใช้วิธีการตั้งป้ายบรรพบุรุษ(เขียนนามสกุล 2 ตระกูล ของพ่อ และแม่ลงไป) เปรียบเสมือนตัวแทนของบรรพบุรุษ  เราจะถวายน้ำ 3 แก้ว  แล้วต้องเปลี่ยนให้บรรพบุรุษทุกวัน อาจมีข้าว อาหาร ผลไม้ ก็ได้ แล้วสวดมนต์ตามบทในหนังสือสวดมนต์ทุกวัน แรกๆการสวดมนต์ก็ยังไม่คล่อง พอสักพักก็คล่องขึ้น การสวดมนต์ช่วยให้มีสมาธิในการทำงานและการดำเนินชีวิต ทุกเวลาต้องไม่ประมาทมีสมาธิอยู่กับตัวเสมอ  มีช่วงหนึ่งของปฏิบัติเรียกว่าคังเงียว คือต้องปฏิบัติให้เสร็จ ตั้งแต่ ตี 1 - ตี 5  ในเดือนมกราคม ประมาณ 1 เดือน กระผมได้ปฏิบัติแล้ว ผมตื่นตี 4 แล้วราดน้ำ ที่ด้านหลังขณะที่ราดน้ำสวด นะมูเมียวโฮเรนเงเคียวไปเรื่อยๆ จนน้ำหมดถังแล้วก็ไปสวดมนต์ทั้งเล่มจนจบ 2 เล่ม คือบทสวดพระสูตรสีน้ำเงิน และบทสวดพระศรีอาริยเมตไตรย ใช้เวลาประมาณ 55 นาที ช่วงนั้นเหนื่อยมากต้องทำงานตอนเช้าต่อ(เสร็จประมาณตี5 )ไปทำงานต่อ อาทิตย์แรกยากมากในการตื่น พออาทิตย์ที่ 2-3 ก็ชินมากขึ้นสุดท้ายก็ทำสำเร็จ มีช่วงหนึ่งที่บ้านพ่อฝันว่ามีคุณลุงท่านหนึ่งมาที่บ้านถามอะไรก็ไม่พูดลักษณะเหมือนคนจีน เข้ามาในบ้านแล้วก็ตรงไปที่ครัวหลังบ้าน ตักแกงขึ้นมากินไม่พูดไม่จา ตั้งหน้าตั้งตากินอย่างเดียวเลย ก็เลยมาเล่าให้คุณฮิโตมิฟังท่านบอกว่าน่าจะเป็นบรรพบุรุษของเรา(คนจีน)เวลาถวายน้ำตรงป้ายบูชาบรรพบุรุษให้ถวายผลไม้ด้วย บรรพบุรุษของเรารอที่จะให้เราสวดมนต์ให้ท่านก็เป็นได้ หลังจากนั้นมาผมก็จะถวายผลไม้อาหารแห้งเพิ่มเข้าไปด้วย พร้อมทั้งตั้งใจสวดมนต์มากขึ้นถ้าถามว่าวิธีที่ได้บุญที่สุดของการทำบุญคืออะไร บุญมี 3 วิธีคือ ธรรมทาน  ศีลทานการรักษาศีล และสุดท้ายคือ ภาวนาทาน อย่างแรกทำง่ายสุดแต่บุญที่ได้น้อย อย่างสองทำเริ่มยากขึ้นบุญที่ได้มากขึ้น อย่างสุดท้ายทำยากสุดต้องใช้ความเพียรพยายามช่วย บุญเยอะสุด ให้ทำทุกวันเหมือนทานอาหารต้องทานทุกวัน  การสวดมนต์ก็เหมือนการทานอาหารแต่เป็นอาหารทางจิต(ใจ) เหนือสิ่งอื่นใดถ้าเราคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี เราควรเริ่มบอกต่อกับคนที่เรารัก พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนสนิทให้มาร่วมสวดมนต์ไปกับเรา เพื่อตัวเราเองก่อนจะได้มีสมาธิและสติมากขึ้นแล้วต่อจากนั้นก็เพื่อประเทศของเราจะได้สงบร่มเย็นประชาชนมีความสุขด้วยกันนะครับทุกท่าน

ขอบคุณครับ

เอกรักษ์   ถิรพิเชฐวงศ์

มูลนิธิเรยูไก (ประเทศไทย)
เลขที่ 23/1 ซอยราชวิถี2 ถนนราชวิถี แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 02-246-5037 , 02-246-3204
โทรสาร : 02-644-4513
Website : reiyukaithailand.or.th